บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ


กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้
         การเล่นในขั้นที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่นได้ โดยเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ไปสู่การเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ และมีพฤติกรรมอย่างง่าย ๆครูสามารถพัฒนาและจัดการเล่นในลักษณะที่สูงขึ้นนี้ได้โดยการให้เด็กเล่นเกมชนิดต่าง ๆ

เกม (Games)
         สำหรับเกมในทรรศนะของนักการศึกษาปฐมวัย ได้อธิบายว่า เกม เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก  ซึ่งเกมจะเป็นเครื่องจูงใจเพื่อนำเด็กไปสู่การเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และพึงพอใจ และเกมสำหรับเด็กนั้นไม่มุ่งเน้นในเรื่องของการแข่งขันหรือการหาผู้ที่ชนะ
จุดมุ่งหมายของการเล่นเกม
2.1 ได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนาน
2.2 พัฒนานิสัยการเล่นที่ดีและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
2.3 ฝึกท่าทางให้มีสุขภาพและรูปทรงสวยงาม
2.4 เร้าประสาทรับรู้ให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
2.5 สร้างความเชื่อมั่นและการบังคับตนเอง
2.6 ฝึกความร่วมมือในฐานะเป็นสมาชิกของกลุ่ม
เกมการเล่น
1. เกมช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
2. เกมช่วยพัฒนาทักษะกลไกในการเคลื่อนไหว
3. เกมช่วยสนับสนุนให้เด็กมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
4. เกมช่วยในการปรับตัวทางสังคม
5. เกมช่วยพัฒนาด้านการรับรู้ การคิด การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ

แนวคิดการจัดเกม
1.เกณฑ์การเลือกเกม
 1.1 ต้องพิจารณาว่าเกมนั้น ๆ จะส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านใด
 1.2 เกมที่นำมาให้เด็กเล่นนั้นจะต้องช่วยส่งเสริมให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหว
 1.3เกมที่ดีจะต้องเป็นเกมที่เด็กสนใจ
 1.4เกมที่ให้แด็กเล่นจะเป็นพื้นฐานสำหรับการฝึกทักษะ
1.5ช่วยเด็กให้เกิดมีทักษะด้านต่าง ๆ เช่นทักษะ การเคลื่อนไหว ทักษะการสังเกตทักษะการเรียบเทียบ
 1.6เกมที่เล่นนั้นควรจะเป็นเกมที่เด็กสามารถนำไปเล่นซ้ำๆ
1.7เกมที่ดีต้องเป็นเกมที่ช่วยส่งเสริมหรือพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
2. การวางแผนการเล่นเกม
3. วิธีดำเนินการให้เด็กเล่นเกม
4. การสอนเกมลักษณะต่างๆ
   4.1 เกมวงกลม
   4.2 เกมกลุ่มเด็กเล็ก
   4.3 การเล่นเป็นทีม
เกมการศึกษา
         หมายถึง สื่อการเรียน ที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ จากการเล่นโดยมีกฎเกณฑ์หรือกติกา จะเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อมโดยเป็นการเล่นที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะเกมบัตรภาพ แต่เป็นเกมหลายรูปแบบที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาได้แก่ ด้านภาษา คณิตศาสตร์ เหตุผล มิติสัมพันธ์ ประสาทสัมผัสการับรู้และการจำ ตอลดจนความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
วัตถุประสงค์ของเกมการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (2537, หน้า 129)
 2.1 เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตและการจำแนกด้วยสายตา
 2.2 เพื่อฝึกการคิดหาเหตุผล
 2.3 เพื่อฝึกการตัดสินใจในการแก้ปัญหา
 2.4 เพื่อฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
 2.5 เพื่อฝึกให้มีคุณธรรมต่าง ๆ
 2.6 เพื่อทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว
ประเภทของเกมการศึกษา
1) เกมการจับคู่
(1) สิ่งที่เหมือนกัน


(2) สิ่งที่สัมพันธ์กัน

(3) สิ่งที่เป็นของประเภทเดียวกัน

(4) สิ่งที่ขาดหายไป

2) เกมการจัดหมวดหมู่


3) เกมภาพตัดต่อ



4) เกมเรียงลำดับภาพหรือภาพต่อเนื่อง

5) เกมโดมิโนหรือเกมต่อภาพเหมือน


6) เกมตารางสัมพันธ์

7) เกมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

8) เกมลอตโต

9. เกมหาความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย


10. เกมพื้นฐานการบวก


11. เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (เมตริกเกม)

หลักการใช้เกมการศึกษา
   การใช้เกมการศึกษาควรลำดับเกมตามความสามารถ เริ่มจากสิ่งที่ไม่ละเอียดนักเพราะเด็กจะสังเกตสิ่งที่ใหญ่ก่อน เมื่อเด็กมีความสังเกตจดจำมากแล้ว จึงจะให้เด็กได้สังเกตส่วนย่อย ๆ หรือส่วนละเอียดมากขึ้นตามลำดับ

ประโยชน์ของเกมการศึกษา
          เกมการศึกษาช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีและสามารถจดจำได้ยาวนาน สามารถทำ ให้เด็กที่เรียนอ่อนหรือเรียนช้าพัฒนาการเรียนดีขึ้นช่วยให้เด็กมีความสามารถในการแก้ปัญหา และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นอกจากจะได้รับความสนุกสนานแล้ว เด็กยังมีโอกาสแสวงหาความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองนับว่าเกมการศึกษาเป็นนวัตกรรมที่มีความจำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น