บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันอังคารที่  24  มกราคม  2560

ความรู้ที่ได้รับ

สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 


ความหมายและความสำคัญของสื่อ

Mcluhan (the medium is the message)
  ในกระบวนการสื่อสารนั้นผู้ส่งสารจะส่งสารไปยังผู้รับ ซึ่งผู้รับจะรับสารได้โดยผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การเห็น การได้ยินการสัมผัส การได้กลิ่น และการลิ้มรส โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสารก็มักจะนึกถึงภาษาพูดหรือเขียน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งตัวสารคือเนื้อความหรือความหมายที่ผู้ส่งสารต้องการส่งไปยังผู้รับหรืออาจจะพิจารณาว่า เป็นสื่อที่ทำให้ผู้รับสารทราบเนื้อหาของสารที่ผู้ส่งสารต้องการส่งก็ได้ ดังนั้น เมื่อมีการกล่าวถึงลักษณะของการสื่อสาร เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน หรือ อากัปกริยาต่าง ๆ



ความสำคัญของสื่อ 
   - เป็นเครื่องมือส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก
   - เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้และเป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก
   - เป็นเครื่องมือที่ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้กลายเป็นรูปธรรมและจะทำให้เด็กจดจำได้นาน
 - สื่อเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด 



แม้ว่าสื่อทั้ง3จะเป็นสื่อการสอนที่ช่วยให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ แต่การใช้สื่อเหล่านี้กับเด็กให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้อง เลือกให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องเหมาะกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กปฐมวัย เช่น
    ลักษณะทางกาย เด็กปฐมวัยมีร่างกายที่แข็งแรงกว่าเด็กทารกแต่ไม่เท่าประถมหรือมัธยม ควรเลือกสื่อที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น แต่ไม่ควรออกแรงมากเกินไป
     ลักษณะทางอารมณ์ เด็กปฐมวัยมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ไม่รู้จักการสะกดกลั้นอารมณ์ ควรหาสื่อที่เป็นรูปภาพหรือนิทานสอนใจให้เด็กเห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการสะกดกลั้นอารมณ์
    ลักษณะทางสังคม เด็กในวัยนี้อยู่ในสังคมวงแคบ เด็กเริ่มรู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนแปลกหน้า ควรเป็นสื่อที่ส่งเสริมให้เด็กอยู่ร่วมกัน รู้จักการร่วมมือกัน เช่น สื่อประเภทกระดานหกที่ต้องใช้ผู้เล่นอย่างน้อย 2 คนถึงจะเล่นได้
    ลักษณะทางสติปัญญา เด็กวัยนี้อยู่ในช่วงการสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุผลในเชิงรูปธรรมมากกว่านามธรรม ควรใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเพื่อกระตุ้นให้เด็กรู้จักใช้จินตนาการในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือสังคม

วามหมายและความสำคัญการเล่นของเด็กปฐมวัย
แรกเกิด-หนึ่งขวบ
-เด็กวัยนี้จะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเป็นลำดับ เริ่มจากการจ้องมองและไขว่คว้าสิ่งของ ฝึกคืบคลาน จนกระทั่งตั้งไข่และพยายามหัดเดินด้วยตนเอง
-วัยหนึ่งขวบ-สองขวบ เด็กวัยนี้เคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้นและเร็วขึ้น ชอบปีนป่ายไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย อยากรู้อยากเห็น ซุกซน ผู้ใหญ่ต้องคอยช่วยเหลือใกล้ชิดและคอยเรื่องอุบัติเหตุต่าง
-วัยสองขวบ-สามขวบ เริ่มสนใจการเล่นกับเด็กคนอื่นๆแต่จะเป็นการเล่นแบบขนาน คือการเล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่จะไม่มีการพูดคุยกัน เด็กวัยนี้เป็นวัยที่รู้จักโลกกว้างขวางขึ้น เป็นวัยของความเป็นตัวเอง
-วัยสามขวบ-สี่ขวบ เด็กวัยนี้เริ่มมองโลกกว้างมากขึ้น เห็นความสามรถของตนเองว่าเหมือนผู้ใหญ่จะทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
 -วัยสี่ขวบ-ห้าขวบ เด็กวัยนี้จะมีความคิดเห็นเป็นของตัวเอง ภาคภูมิใจในตัวเอง เข้าใจภาษามากขึ้นพูดเป็นประโยคยาวๆเด็กสามารถช่วยตนเองได้ทุกอย่าง
  -วัยห้าขวบ-หกขวบ เด็กวัยนี้ชอบเล่นของเล่นที่ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งต่างๆ ชอบเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ ชอบเล่นให้กำลัง



















ารเรียนรู้ระดับปฐมวัย
       เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากรูปธรรมไปหานามธรรม โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ครูผู้สอนต้องมีใจรักเด็กอย่างจริงใจ อย่าเสแสร้ง ควรจัดกิจกรรมที่เน้นเด็กเป็นสำคัญเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข กล้าคิดกล้าทำกล้าแสดงออก
     1. การเรียนรู้เด็กปฐมวัยด้วยองค์ความรู้ด้านสมอง และทฤษฎีพหุปัญญา
                    1) ปัญญาด้านภาษา
                    2) ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
                    3) ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
                    4) ปัญญาด้านดนตรี
                    5) ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
                    6) ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
                    7) ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์
                    8) ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับธรรมชาติ
     2. ทฤษฎีทางพหุปัญญา
                    1) ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้านจากการศึกษาเรื่องสมอง
                    2) ทุกคนมีปัญญาทั้ง8ด้าน
                    3) ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญา
                    4) ปัญญาด้านต่างๆสามารถทำงานร่วมกัน
                    5) ปัญญาแต่ละด้านจะมีการแสดงความสามารถหลายทาง
      3. ความสุข สิ่งที่ทุกคนปรารถนาเป้าเสาะแสวงหา ไขว่คว้า พากเพียรพยายามที่จะให้ตัวเองและผู้เป็นที่รักได้พบได้ครอบครอง พ่อแม่อยากให้ลูกมีความสุข ครูอาจารย์ก็อยากเห็นลูกศิษย์ของตนร่าเริง แจ่มใสและมีความสุข
      4. การประยุกต์กระบวนทันศ์ใหม่ทางการศึกษาในการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย การพัฒนาให้เด็กเป็นคนเก่ง ดีและมีความสุข โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ตามสภาพจริงและกระบวนการประเมินตามสภาพจริง
       5. การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดใน
                    1) การเลือกและตัดสินใจ โดยที่เด็กเป็นคนเลือกเอง
                    2) สื่อ
                    3) การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
                    4) ภาษาจากเด็ก สีหน้า ท่าทาง คำพูด
                    5) การสนับสนุนจากผู้ใหญ่




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น