บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันอังคารที่  17  มกราคม  2560

ความรู้ที่ได้รับ
   วันนี้เราได้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและการเลี้ยงดูของเด็กปฐมวัย




ธรรมชาติของเด็ก1.ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง2.มีความสามารถในขอบเขตจำกัดและแตกต่างกั3.ต้องการการเอาใจใส่ดูแลจากบุคคลรอบข้างเขา4.ชอบความเป็นอิสระ5.ชอบแสดงออกและต้องการการยอมรับจากครูและเพื่อนๆ6.ชอบเล่น7.มีช่วงของความสนใจสั้นๆ เด็ก3-4ขวบจะมีระยะความสนใจเพียง 10-12นาทีและเด็กอายุ4-5ขวบจะมีระยะความสนใจเพียง 12-15นาที

ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
 1.เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการพบหรือสัมผัสสิ่งของและลงมือกระทำด้วยตัวเอง                   
 2.เรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม เรียนรู้จากการบอกเล่าของบุคคลที่ใกล้ชิด หรือเรียนรู้จากหนังสือ การเลียนแบบบุคคล ซึ่งการเรียนรู้วิธีนี้จะทำให้เด็กสร้างมโนภาพขึ้นได้ในสมองแทนการเห็นของจริง

การจำแนกลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
 - ลักษณะที่1 การเรียนรู้โดยสัญชาตญาณ                         
- ลักษณะที่2 เป็นการเรียนรู้จากการช่วยเหลือจากพ่อแม่           
- ลักษณะที่3 การเรียนรู้จากโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมอย่างมีระบบ   
                                         รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย                                               1.การเรียนรู้โดยใช้สายตา  
2.การเรียนรู้โดยการได้ยินได้ฟัง
3.การเรียนรู้โดยใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย                                                                        กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและเด็กในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดี ถือเป็นโอกาสทองของการเรียนรู้ของมนุษย์และเป็นช่วงวัยที่สมองกำลังไวต่อสิ่งกระตุ้น ตัวกระตุ้นที่ดีที่สุดของเด็กคือ คำถาม การที่เด็กตั้งคำถามคือเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้มีขั้นตอน ดังนี้     
1.มีสิ่งเร้ามาเร้าผู้เรียน
2.ผู้เรียนรับรู้สิ่งเร้า                                                                                                                     3.ผู้เรียนแปลความหมายของสิ่งเร้าที่รับรู้                                                      
 4.ผู้เรียนมีปฏฺิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้และแปลความหมาย                                              

5.ผู้เรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้น คือการที่เด็กเข้าใจในสื่อนั้นมากน้อยเพียงใด



ทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

อายุ2-3ปี 
- ดูหนังสือภาพแล้วสามารถเรียกชื่อสิ่งที่เห็นจากภาพได้
- จับคุ่สิ่งของได้ โดยที่เด็กรู้ความสัมพันธ์กันของสิ่งของเล่านั้น เช่น เสื้อกับกางเกง ช้อนกับส้อม เป็นต้น
- เรียนรู้ขนาดใหญ่และเล็กได้
- ชอบการเลียนแบบการทำงานของผู้ใหญ่
- สามารถบอกได้ว่าขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่ได้                                                                             
อายุ3-4ปี
- สามารถจำสีและจับคู่สีที่เหมือนกันได้มากกว่า 3 สี 
- เปรียบเทียบขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ได้
- ชอบถามว่าทำไม
- บอกชื่อ นามสกุลได้เมื่อได้รับการสอนให้จำ
- เข้าใจความหมายของเวลาคร่่าวๆ เช่น เมื่อเช้านี้ เมื่อเย็นนี้ เป็นต้น

อายุ4-5ปี
- ท่องคำสัมผัสและสนุกกับคำที่ออกเสียงซ้ำๆ
- บอกชื่อสีได้ 4-6สี
- วาดภาพคนโดยมีส่วนต่างๆของคน ตั้งแต่2-6ส่วน
- จับคู่สิ่งของที่ใช้ด้วยกันหรือประเภทเดียวกันได้
- บอกชื่อสถานที่ที่บ้านตนตั้งอยู่ได้
อายุ5-6ปี
- สามารถเล่าทวนเรื่องทีได้ยินได้
- แยกสิ่งของที่มีคุณลักษณะต่างกันได้
- รู้ความหมายของการบอกเวลาได้ชัดเจนถูกต้อง เช่น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นต้น
- ออกชื่อตัวพยัญชนะหรือตัวเลขที่ตนจำได้ อ่านได้
- จับอุปกรณืต่างๆได้ถนัดมากยิ่งขึ้น


แนวคิดของการเรียนรู้
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของBLOOM 
   แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น6ระดับ ประกอบด้วย 
1.ความจำ 
2.การประยุกต์ 
3.ความเข้าใจ
4.การสังเคราะห์
5.การวิเคราะห์ 
6.การประเมินค่า

 การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์

1.พฤติกรรมควรชี้ชัดและสังเกตได้
2.เงื่อไนพฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
3.มาตรฐานพฤติกรรมควรอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
 การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบนูเนอร์
1.ความรู้ถูกสร้างโดยประสบการณ์
2.ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3.ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
4.ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5.ผู้เรียนเลือกกิจกรรมและเนื้อหาเอง ซึ่งควรถูกสร้างในภาพรวม

 การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์

1.ความต่อเนื่อง คือ การทำซ้ำๆบ่อยๆ
2.การจัดช่วงลำดับ
3.บูรณาการ
 การเรียนรู้8ขั้นของกาเย่
1.การจูงใจจากสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ
2.การรับรู้ตามเป้าหมายที่งตั้งไว้
3.การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ
4.ความสามารถในการจำ
5.ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
6.การนำสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้วไปประยุกต์ใช้
7.การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้
8.การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน


พัฒนาการของเด็กปฐมวัย

    เป็นวัยพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวสู่การพัฒนาของชีวิต เด็กจะให้ความสนใจในสิ่งต่างๆรอบตัวและชอบตั้งคำถามในเรื่องต่างๆ ซึ่งความหมายของพัฒนาการ คือ กระบวนการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบระเบียบอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับขั้นตอนโดยมีอายุเป็นตัวกำกับ
   »ลักษณะของพัฒนาการ
-การเข้าใจวิถีชีวิตในวัยเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ6ปี
-พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
-มีทิศทางที่แน่นอน 
-พัฒนาดารเริ่มจากบนไปล่าง จากแกนกลางลำตัวไปสู่ด้านข้าง
- อัตราพัฒนาการของเด็กแตกต่างกัน
-พัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กัน
  »ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
-บุคคลภายในครอบครัว 
-บุคคลภายนอกครอบครัว
-เชื้อชาติ
-เพศ เพศหญิงจะโตเร็วกว่าเพศชาย
-การบาดเจ็บและโรคภัยไข้เจ็บ

การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
1.ควรคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ                                                                                                  
 2.ควรมีทั้งกิจกรรมที่ให้เด็กทำเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่                                             
3.ควรมีความสมดุล                                                                                                              
 4.ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมควรเหมาะสมกับวัย                                                                        
 5.ควรเน้นให้มีสื่อของจริง

   »ลักษณะการจัดกิจกรรมผ่านการเล่น
กิจกรรมเสรี ให้เด็กเล่นตามมุมการเล่นหรือมุมประสบการณ์ 
•กิจกรรมสร้างสรรค์                                                     
•กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ   
กิจกรรมเสริมประสบการณ์           
กิจกรรมกลางแจ้ง                                                                           
เกมการศึกษา 

»ลักษณะพฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัย
   






     »การจัดกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย    



ประโยชน์ของการจัดกิจกรรม
       


สรุป






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น